ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2564 กำลังเป็นที่สนใจของผู้ที่คือครองอสังหาริมทรัพย์ เพราะเมื่อต้นปี 2564 ได้มีการปรับเปลี่ยนเกี่ยวกับระยะเวลา และอัตราภาษีที่เพื่อน ๆ หลายคนต้องจ่าย โดยอิงจากสภาวะเศรษฐกิจที่ยังซบเซาจากการแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสโคโรน่า หรือ COVID-19 ที่เราทรา บกันดี วันนี้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2564 ได้มีการอัพเดทเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง CondoNewb จะพาเพื่อน ๆ ไปอัพเดทกันแบบหมดเปลือกค่ะ
. . . . . . . . . .
อัพเดทอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2564 - ลดค่าภาษี 90%

การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2564 นั้นจะมีการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2564 ถึง 90% ดังนั้นสำหรับเพื่อน ๆ ที่จะต้องจ่ายภาษีในปีนี้นั้น จะจ่ายเพียง 10% จากที่คำนวณภาษีแล้วเท่านั้นค่ะ นอกจากนี้ยังสามารถผ่อนชำระภาษีได้ถึง 3 งวดด้วยกัน ทำให้ช่วยผ่อนภาระในช่วงวิกฤตไปได้พอสมควร สำหรับอัตราภาษีในแต่ละประเภทจะเป็นอย่างไรนั้นไปติดตามกันเลยค่ะ
1. อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2564 ประเภทที่อยู่อาศัย
สำหรับอัตราภาษีที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ อัตราภาษีที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยสำหรับเจ้าของบ้านที่ถือครองทั้งที่ดินและบ้าน และ อัตราภาษีที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยสำหรับผู้ที่ถือครองเพียงตัวบ้านเท่านั้น ซึ่งแต่ละประเภทจะแตกต่างกันดังนี้
1.1 อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2564 ประเภทที่อยู่อาศัย – ที่เจ้าของบุคคลธรรมดาให้เป็นที่อยู่อาศัยมีชื่อในทะเบียนบ้าน (ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินและกรรมสิทธิ์บ้าน)
หากเป็นบ้านหลังแรกจะได้สิทธิ์หักฐานภาษี 50 ลบ.* เช่น มีบ้านราคาประเมิน 55 ลบ. (55-50=5) ก็เสียภาษีที่ 0.03% สำหรับอัตราภาษีนั้นจะปรับขึ้นตามมุลค่าของบ้านและที่ดินดังนี้
- มูลค่าของบ้านและที่ดินไม่เกิน 25 ลบ. เสียภาษี 0.03%
- มูลค่าของบ้านและที่ดินเกิน 25-50 ลบ. เสียภาษี 0.05%
- มูลค่าของบ้านและที่ดินเกิน 50 ลบ. เสียภาษี 0.1%
วิธีการคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2564 ประเภทที่อยู่อาศัย
- ภาษีที่ดินที่ต้องจ่าย = มูลค่าที่ดิน x อัตราภาษีที่ดิน
1.2 อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2564 ประเภทที่อยู่อาศัย - บุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่อในทะเบียนบ้าน (ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน แต่ถือกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของบ้านและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน)
หากเป็นบ้านหลังแรกจะได้สิทธิ์หักฐานภาษี 10 ลบ.* เช่น * เช่น มีบ้านราคาประเมิน 55 ลบ. (45-10 = 35) ก็เสียภาษีที่ 0.02% สำหรับอัตราภาษีนั้นจะปรับขึ้นตามมูลค่าของบ้านและที่ดินดังนี้
- มูลค่าของบ้านไม่เกิน 40 ลบ. เสียภาษี 0.02%
- มูลค่าของบ้านเกิน 40-65 ลบ. เสียภาษี 0.03%
- มูลค่าของบ้านเกิน 65-90 ลบ. เสียภาษี 0.05%
- มูลค่าของบ้านเกิน 90 ลบ. เสียภาษี 0.1%
วิธีการคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2564 ประเภทที่อยู่อาศัย
- ภาษีที่ดินที่ต้องจ่าย = มูลค่าที่ดิน x อัตราภาษีที่ดิน
1.3 อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2564 ประเภทที่อยู่อาศัย - บ้านหลังที่ 2 เป็นต้นไป
- มูลค่าของบ้านไม่เกิน 50 ลบ. เสียภาษี 0.02%
- มูลค่าของบ้านเกิน 50-75 ลบ. เสียภาษี 0.03%
- มูลค่าของบ้านเกิน 75-100 ลบ. เสียภาษี 0.05%
- มูลค่าของบ้านเกิน 100 ลบ. เสียภาษี 0.1%

2. อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2564 ประเภทเกษตรกรรม
เพดานภาษีอยู่ที่ 0.15% โดยหากถือครองที่ดินเกษตรกรรมในฐานะบุคคลธรรมดา ถ้ามูลค่าที่ดินไม่เกิน 50 ล้านบาทจะได้รับยกเว้นภาษี สำหรับอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2564 ประเภทเกษตรกรรมจะปรับเพิ่มโดยยึดมูลค่าของที่ดินเป็นหลัก ดังนี้
- มูลค่าของที่ดินไม่เกิน 75 ลบ. เสียภาษี 0.01%
- มูลค่าของที่ดิน 75-100 ลบ. เสียภาษี 0.03%
- มูลค่าของที่ดิน 100-500 ลบ. เสียภาษี 0.05%
- มูลค่าของที่ดิน 500-1,000 ลบ. เสียภาษี 0.07%
- มูลค่าของที่ดิน 1,000 ลบ. เสียภาษี 0.1%
วิธีการคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2564 ประเภทเกษตรกรรม
บุคคลธรรมดา
- (มูลค่าที่ดิน - มูลค่าที่กฎหมายยกเว้น 50 ล้าน) x อัตราภาษีที่ดิน
นิติบุคคล
- มูลค่าที่ดิน x อัตราภาษีที่ดิน
3. อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2564 ประเภทที่ดินรกร้างว่างเปล่า บ้านไม่ใช้ประโยชน์ และอื่นๆ
สำหรับภาษีประเภทนี้จะมีการกำหนดเพดานภาษีอยู่ที่ 1.2% และต้องเสียภาษี 0.3-3% ของราคาประเมิน และเพิ่มขึ้น 0.3% ทุก 3 ปี ไม่เกิน 27 ปี หรือจนกว่าจะมีการใช้ประโยชน์จากที่ดิน
- มูลค่าของที่ดินไม่เกิน 50 ลบ. เสียภาษี 0.3%
- มูลค่าของที่ดิน 50-200 ลบ. เสียภาษี 0.4%
- มูลค่าของที่ดิน 200-1,000 ลบ. เสียภาษี 0.5%
- มูลค่าของที่ดิน 1,000 – 5,000 ลบ. เสียภาษี 0.6%
- มูลค่าของที่ดินมากกว่า 5,000 ลบ. เสียภาษี 0.7%
วิธีการคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2564 ประเภทที่อยู่อาศัย
- ภาษีที่ดินที่ต้องจ่าย = มูลค่าที่ดิน x อัตราภาษีที่ดิน
4. อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2564 ประเภทใช้ประโยชน์อื่นนอกจากเกษตรกรรมและอยู่อาศัย (ใช้ในเชิงพาณิชย์ อุตสาหกรรมหรือปล่อยเช่า)
- มูลค่าของทรัพย์สินไม่เกิน 50 ลบ. เสียภาษี 0.3%
- มูลค่าของที่ดิน 50-200 ลบ. เสียภาษี 0.4%
- มูลค่าของที่ดิน 200-1,000 ลบ. เสียภาษี 0.5%
- มูลค่าของที่ดิน 1,000 – 5,000 ลบ. เสียภาษี 0.6%
- มูลค่าของที่ดินมากกว่า 5,000 ลบ. เสียภาษี 0.7%
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2564 ต้องจ่ายเมื่อไหร่?

สำหรับกำนดการของการจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2564 นั้น สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ได้มีการประกาศออกมาเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ให้ขยายกำหนดการชำระภาษีที่ดิน 2564 ออกไปอีก 2 เดือน จากเดิมที่ต้องจัดเก็บภาษีในเดือนเมษายน 2564 ให้ไปจัดเก็บภาษีในเดือนมิถุนายน 2564 แทน ซึ่งเราได้ทำการสรุปกำหนดการการเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2564 ไว้ดังนี้
เปิดไทม์ไลน์ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2564
มกราคา 2564 – จัดส่งข้อมูลให้ผู้เสียภาษีทราบ
มีนาคม 2564 – ประกาศราคาประเมินของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
เมษายน 2564 - แจ้งประเมินภาษี
มิถุนายน 2564 - ชำระภาษี โดยสามารถผ่อนผ่อนชำระได้ 3 งวด
- งวดที่ 1 ภายในเดือนมิถุนายน 2564
- งวดที่ 2 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564
- งวดที่ 3 ภายในเดือนสิงหาคม 2564
กรกฎาคม 2564 – ออกหนังสือแจ้งเตือนถึงผู้ค้างชำระเสียภาษี
สิงหาคม 2564 - อปท. แจ้งรายการค้างชำระภาษีให้สนักงานที่ดิน หรือสำงานที่ดินสาขา
จะเกิดอะไรขึ้น? หากเราไม่เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2564
- หากไม่ชำระภาษีในเวลาที่กำหนด แต่มาชำระก่อนได้หนังสือเตือน คิดดอกเบี้ยปรับ 10% ของจำนวนภาษี
- จ่ายภาษีตามกำหนดในหนังสือแจ้งเตือน คิดดอกเบี้ยปรับ 20% ของจำนวนภาษี
- จ่ายภาษีเกินกำหนดในหนังสือแจ้งเตือน คิดดอกเบี้ยปรับ 40% ของจำนวนภาษี
- หากไม่ได้เสียภาษีตามเวลาที่กำหนด ให้เสียเพิ่มอีก 1% ต่อจำนวนเดือนที่ค้างชำระ โดยเริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีไปจนถึงวันที่มีการชำระภาษี แต่ไม่เกินจำนวนภาษีที่ต้องจ่าย
- หากไม่มาชำระภาษีในระยะเวลาที่กำหนดจะไม่สามารถจดทะเบียน, โอนกรรมสิทธิ์, ครอบครองที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างได้
- หากไม่ชำระภาษีเกินกำหนด 90 วัน นับจากวันที่ได้หนังสือแจ้งเตือนองค์กรการปกครองท้องถิ่นสามารถยึด หรืออายัดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ค้างชำระ เพื่อนำไปขายทอดตลาดได้
ทั้งหมดทั้งมวลนี้คือเรื่องราวเกี่ยวกับ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2564 ที่เรานำมาอัพเดทให้เพื่อน ๆ ได้ติดตามกัน ซึ่งหวังว่าเพื่อน ๆ จะได้ประโยชน์จากบทความนี้ไม่มากก็น้อยค่ะ นอกจากเรื่องราวของภาษีที่ดินแล้ว เรายังคอยอัพเดทเรื่องราวในวงการอสังหาฯ อย่างต่อเนื่อง ทั้งโครงการใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ ไปจนถึงเรื่องราวเกี่ยวกับการเงินการลงทุนที่น่าติดตาม แล้วพบกันใหม่บทความหน้าค่ะ