แม้สถานการณ์ COVID-19 จะคลี่คลายขึ้นตามลำดับ แต่ผลกระทบในแง่ของเศรษฐกิจนั้นยังคงไม่ได้ดีขึ้น และต้องใช้เวลาในการฟื้นตัว ด้วยเหตุนี้เองธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ ได้ประกาศมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ระยะที่ 2 ในวันที่ 22 มิถุนายน 2563 หลังจากประกาศ มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ในครั้งแรก เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา โดยจะมีการช่วยเหลือลูกหนี้ 6 ประเภทสินเชื่อด้วยกันคือ บัตรเครดิต, บัตรกดเงินสด, สินเชื่อส่วนบุคคล, สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ, สินเชื่อเช่าซื้อ และสินเชื่อบ้าน ซึ่งจะบังคับใช้ในวันที่ 1 สิงหาคม 2563 โดยมีรายละเอียดดังนี้

มาตรการลดดอกเบี้ยช่วยเหลือลูกหนี้ระยะ 2
บัตรเครดิต
อัตราดอกเบี้ยเดิม 18% ต่อปี เหลือ 16% ต่อปี
บัตรกดเงินสด
อัตราดอกเบี้ยเดิม 28% ต่อปี เหลือ 26% ต่อปี
สินเชื่อส่วนบุคคล
อัตราดอกเบี้ยเดิม 28% ต่อปี เหลือ 25% ต่อปี
สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ
อัตราดอกเบี้ยเดิม 28% ต่อปี เหลือ 24% ต่อปี
สินเชื่อเช่าซื้อ
ลดดอก 1% จากสัญญาเช่าเดิม
สินเชื่อบ้าน
พักจ่ายเงินต้น 3 เดือน ปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อลดค่างวดและขยายเวลาชำระหนี้ได้
มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ระยะ 2
บัตรเครดิต
เปลี่ยนสินเชื่อระยะยาว 48 งวด หรือ ขยายระยะเวลาชำระหนี้
บัตรกดเงินสด
• ลดอัตราผ่อนขั้นต่ำ
• เปลี่ยนเป็นสินเชื่อระยะยาว 48 งวด หรือขยายระยะเวลาชำระหนี้
สินเชื่อส่วนบุคคลที่ผ่อนเป็นงวด
ลดค่างวดอย่างน้อย 30% โดยคิดดอกเบี้ยไม่เกิน 22%
สินเชื่อเช่าซื้อ (ไม่จำกัดวงเงิน)
• เลื่อนชำระค่างวด 3 เดือน (ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย)
• ลดค่างวด โดยขยายเวลาการชำระหนี้
สินเชื่อบ้าน (ไม่จำกัดวงเงิน)
• เลื่อนชำระค่างวด (เงินต้นและดอก) 3 เดือน
หรือ
• เลื่อนชำระเงินต้น 3 เดือน และลดดอกเบี้ยตามความเหมาะสม
หรือ
• ลดค่างวดโดยขยายเวลาการชำระหนี้
ให้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ กับลูกหนี้ที่ไม่มีความสามารถชำระหนี้ได้ตามสัญญา หรือตามมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ระยะ 2
ผู้ให้บริการทางการเงินต้องจัดให้มีแผนปรับโครงสร้างหนี้สำหรับลูกหนี้ NPL
จุดมุ่งหมายมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ระยะ 2 จากแบงก์ชาติ
ภาพรวม
- การช่วยเหลือลูกหนี้ ไม่สร้างพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่ทำให้ลูกหนี้ดี ไม่ชำระหนี้ตามปกติ
- ลูกหนี้มีที่อยู่อาศัยเพื่อปฏิบัติตามหลัก Social Distancing
- ปรับโครงสร้างหนี้รวดเร็วทันการณ์
ลูกหนี้
- ช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบไม่ให้มีภาระจากหนี้เดิมจนเกินสมควร
- ลูกหนี้มีสิทธิ์เลือกโปรแกรมและเปรียบเทียบข้อมูลให้เพียงพอต่อการตัดสินใจ
- ลูกหนี้ที่ปรับหนี้ก่อนเป็น NPLs ไม่ติดสถานะลูกหนี้ปรับโครงสร้างหนี้ (TDR) ในเครดิตบูโร
ผู้ให้บริการทางการเงิน
- ผู้ให้บริการทางการเงินมีสภาพคล่อง และฐานะการดำเนินงานดี เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจในระยะต่อไป
- ช่วยเหลือลูกหนี้ได้ตามมาตรการและเร่งปรับโครงสร้างนี้ลูกหนี้
- มีทางเลือกให้ลูกหนี้ตัดสินใจ พร้อมข้อมูลเปรียบเทียบภาระหนี้เดิม กับภาระหนี้ใหม่
กระบวนการ
- ลดขั้นตอน / กระบวนการให้ความช่วยเหลือ โดยใช้ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์
- ผู้ให้บริการทางการเงิน สามารถทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ได้ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ทั้งหมดทั้งมวลนี้คือรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ระยะ 2 จากธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งจะช่วยผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤต COVID-19 เพื่อน ๆ สามารถติดตามมาตรการช่วยเหลือ อื่น ๆ ได้ที่นี่ พร้อมบทความเกี่ยวกับการเงินการลงทุน ที่จะอัพเดทให้เพื่อน ๆ ได้ติดตามกันอยู่ตลอด แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าค่ะ
NewbMind